วันอาทิตย์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ข่าวประจำสับดาห์ที่1



ระบบโอแพค (OPAC) คืออะไร
ใช้ประโยชน์ในการค้นคืนสารสนเทศในห้องสมุดได้อย่างไร


- OPAC ย่อมาจาก Online Public Access Catalog
- OPAC ใช้สำหรับค้นหาข้อมูลทางบรรณานุกรมของทรัพยากรสารสนเทศ
ที่ห้องสมุดจัดหาเข้ามา
- OPAC นอกจากใช้สำหรับค้นหาข้อมูลทางบรรณานุกรมของทรัพยากรสารสนเทศ
แล้วยังสามารถใช้ในการตรวจสอบข้อมูลการยืมของตนเองได้อีกด้วย
OPAC (Online Public Access Catalog) คือ ระบบสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศของ
ห้องสมุดโดยใช้คอมพิวเตอร์ สำหรับ OPAC ของสำนักหอสมุดกลางนี้ สามารถสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศครอบคลุมห้องสมุดรวม 3 แห่ง ได้แก่ สำนักหอสมุดกลาง หอสมุด มศว องครักษ์ และห้องสมุดคณะแพทยศาสตร์ ทั้งนี้หอสมุด มศว องครักษ์ จะเรียกระบบสืบค้นนี้ว่า IPAC (Internet Public Access Catalog) ซึ่งต่างจาก OPAC ตรงที่สามารถ
เชื่อมโยงสู่อินเทอร์เน็ตได้จากหน้าจอที่สืบค้น

ทำไมต้องสืบค้น OPAC
เพื่อทราบว่าห้องสมุดมีทรัพยากรสารสนเทศที่ต้องการหรือไม่
เพื่อทราบรายละเอียดต่างๆ เกี่ยวกับข้อมูลทางบรรณานุกรมของทรัพยากร
สารสนเทศก่อนตัดสินใจคัดเลือกทรัพยากรสารสนเทศที่ต้องการ
เพื่อทราบเลขเรียกหนังสือ สถานที่จัดเก็บ และสถานภาพของทรัพยากรสารสนเทศ
ก่อนที่จะไปหาตัวเล่มบนชั้น
เพื่อใช้บริการอัตโนมัติต่างๆ ที่เกี่ยวกับการใช้ทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุด
ได้แก่ การจอง การยืมต่ออัตโนมัติ การตรวจสอบข้อมูลการยืม และการรวบรวม
รายการบรรณานุกรม

จะใช้ OPAC ได้ที่ใด
สืบค้นผ่านคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการภายในห้องสมุด หรือ
สืบค้นผ่านคอมพิวเตอร์จากที่ใดก็ได้ที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต โดยเข้าใช้จากเว็บไซต์
ของสำนักหอสมุดกลางที่ http://lib.swu.ac.th จากเว็บไซต์ของหอสมุด มศว
องครักษ์ที่ http://oklib.swu.ac.th หรือเข้าถึง OPAC โดยตรงได้ที่
http://library.swu.ac.th

ประโยชน์ของระบบโอแพค (OPAC)

1. ค้นหาข้อมูลทางบรรณานุกรมของรายการทรัพยากรสารสนเทศที่ต้องการ
2. ตรวจสอบรายการยืมทรัพยากรสารสนเทศของตนเอง
3. ค้นหาบทความจากวารสารที่มีให้บริการในห้องสมุด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น