วันอังคารที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2553

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่10

ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ

ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ หมายถึงการนำโปรแกรมสำเร็จรูปที่ออกแบบการใช้สำหรับงานห้องสมุดทุกๆ งานโดยเฉพาะ เพื่อใช้ในงานการจัดเก็บ งานจัดหา งานวารสาร งานวิเคราะห์ทรัพยากร และงานบริการสารสนเทศ เพื่อสร้างฐานข้อมูลห้องสมุดแต่ละแห่ง หรือสร้างฐานข้อมูลห้องสมุดร่วมกัน ในห้องสมุดหลายๆ แห่ง ทั้งนี้ระบบห้องสมุดอัตโนมัติจะประกอบด้วย อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ โปรแกรมสำเร็จรูปอัตโนมัติ ฐานข้อมูลที่สร้างขึ้น ระบบเครือข่ายและเทคโนโลยีการสื่อสาร การจัดการระบบงาน และบุคลากร

ระบบห้องสมุดอัตโนมัติอินโนแพค (INNOPAC)
อินโนแพค จัดเป็นโปรแกรมระบบห้องสมุดอัตโนมัติที่สมบูรณ์มากระบบหนึ่งประกอบด้วยโมดูลต่างๆ เพียงพอกับความต้องการของห้องสมุด ได้แก่ ระบบงานพัฒนาทรัพยากรห้องสมุด ระบบงานวิเคราะห์ และจัดการทำรายการ ระบบโอแพค ระบบงานวารสาร ระบบงานยืม - คืน และระบบการจัดการ นอกจากนี้ บริษัทอินโนเวทีฟ ยังมีเทคโนโลยีล่าสุดจัดการกับฐานข้อมูลภาพลักษณ์ และ อุปกรณ์เชื่อมต่อ เข้าสู่เครือข่ายระบบอื่นๆ รวมทั้งมาตรฐาน Z 39.50 ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ การแลกเปลี่ยน ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ โปรแกรมนี้เป็นโปรแกรมสำเร็จรูปที่ทำงานบนเครื่องระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ การติดตั้งโปรแกรมทำโดยผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต จากเครื่องที่สำนักงานใหญ่ รวมทั้งการบำรุงรักษาระบบโดยพนักงานของบริษัทซึ่งอยู่ที่ แคลิฟอร์เนีย สามารถติดต่อเข้ามาแก้ไขระบบให้แก่ ลูกค้าได้ในระบบออนไลน์ โดยใช้เครือข่ายอินเตอร์เน็ต

ระบบโอแพค (OPAC)
ระบบโอแพค (Online Public Access Catalog Module = OPAC) เป็นระบบงานย่อยระบบหนึ่ง ของโปรแกรมระบบห้องสมุดอัตโนมัติ เป็นระบบที่ใช้สำหรับการสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศของ ห้องสมุด มีคำเรียกที่ใช้ในภาษาไทยแตกต่างกันออกไป เช่นระบบการสืบค้นสารสนเทศแบบ- ออนไลน์ รายการบรรณานุกรมออนไลน์ หรือการสืบค้นข้อมูลออนไลน์ เป็นต้น
ระบบโอแพค คือการสืบค้นสารสนเทศที่มีให้บริการในห้องสมุด จากฐานข้อมูลรายการบรรณานุกรม ที่ห้องสมุดจัดทำขึ้น ด้วยระบบออนไลน์ ผู้ใช้สามารถสืบค้นสารสนเทศในห้องสมุดได้อย่างสะดวก รวดเร็ว โดยสืบค้นจากคอมพิวเตอร์แทนบัตรรายการ ซึ่งผู้ใช้บริการจะสื่อสารกับเครื่องด้วยตนเอง ผ่านทางเทอร์มินัลปลายทางด้วยการปฏิบัติตามคำสั่ง และคำแนะนำที่ปรากฏบนจอคอมพิวเตอร์

วิธีการสืบค้นสารสนเทศระบบโอแพค ของสำนักหอสมุดกลาง (มร)
OPAC ( Telnet ที่ library.lib.ru.ac.th login : library) เป็นการสืบค้นฐานข้อมูลบรรณานุกรม หนังสือ เอกสาร วารสาร วัสดุไม่ตีพิมพ์ ฯลฯ ของห้องสมุด / ข้อมูลและบริการของห้องสมุด รวมทั้งเสนอแนะหนังสือและบริการที่ต้องการในแบบ

วิธีการสืบค้นสารสนเทศระบบโอแพค ของสำนักหอสมุดกลางแบบข้อมูลตัวอักษร

ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ หมายถึงการนำโปรแกรมสำเร็จรูปที่ออกแบบการใช้สำหรับงานห้องสมุดทุกๆ งานโดยเฉพาะ เพื่อใช้ในงานการจัดเก็บ งานจัดหา งานวารสาร งานวิเคราะห์ทรัพยากร และงานบริการสารสนเทศ เพื่อสร้างฐานข้อมูลห้องสมุดแต่ละแห่ง หรือสร้างฐานข้อมูลห้องสมุดร่วมกัน ในห้องสมุดหลายๆ แห่ง ทั้งนี้ระบบห้องสมุดอัตโนมัติจะประกอบด้วย อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ โปรแกรมสำเร็จรูปอัตโนมัติ ฐานข้อมูลที่สร้างขึ้น ระบบเครือข่ายและเทคโนโลยีการสื่อสาร การจัดการระบบงาน และบุคลากร

ขั้นตอนการสืบค้น จากเมนูหลัก (ภาษาไทย)
การจำกัดการสืบค้น
การสืบค้นจากหัวเรื่อง
การสืบค้นจากคำสำคัญ
การสืบค้นจากเลขหมู่อื่น ๆ
รายการเพิ่มเติมที่สามารถสืบค้นได้จากระบบโอแพค
การดูข้อมูลของห้องสมุด

ข้อควรจำ
เพื่อความเข้าใจและสามารถสืบค้นข้อมูลระบบโอแพค ได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้อง ตรงตามความต้องการ ผู้ใช้ควรอ่านหน้าจอเมนูหลักก่อน
เมนูหลักของระบบสามารถเปลี่ยนกลับไป - มา ได้ระหว่างภาษาไทยและ ภาษาอังกฤษ โดยกดตัว L > เปลี่ยนภาษา
ทุกครั้งที่กดปุ่มคำสั่ง ต้องเปลี่ยน cursor เป็นภาษาอังกฤษก่อน เพราะระบบรับคำสั่งเป็น ภาษาอังกฤษ ปุ่มสำหรับกดเปลี่ยนภาษา คือ ปุ่ม ทิลท์(Tilt)[~]
cursor ภาษาอังกฤษเป็นขีด [-] cursor ภาษาไทยเป็นสี่เหลี่ยมทึบ [ ]
เมื่อผู้ใช้เสร็จสิ้นการสืบค้นข้อมูลให้กด N > สืบค้นครั้งต่อไป / New Search เพื่อกลับไปสู่หน้าจอเมนูหลัก



ที่มา:http://www.mbu.ac.th/index.php?option=com_content&task=view&id=1597&Itemid=58

วันจันทร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 9

0 OPAC กับการส่งข้อความผ่านมือถือ ที่่ห้องสมุด Plymouth State University เสริมการบริการสืบค้นผ่าน OPAC ของห้องสมุดด้วยการส่งข้อความเข้าโทรศัพท์มือถือ นับเป็นบริการเสริมที่น่าติดตามทีเดียว




เมื่อคลิก Text this to your cell phone จะมีช่องให้กรอกหมายเลขโทรศัพท์มือถือ ที่ต้องการส่งข้อความที่สืบค้นได้เข้าโทรศัพท์มือถือ




Library 2.0, Library Catalog, OPAC, Web 2.0 Libraries using LibraryThing for Libraries
May 17th, 2010 by supaporn 134 views LTFL หรือ Libraries using LibraryThing for Libraries เป็นกลุ่มห้องสมุดที่ใช้ LibraryThing เพิ่มเข้ามาในระบบ OPAC ทำให้ระบบ OPAC มีลูกเล่นมากขึ้น ตอนนี้มี 3 ลูกเล่น แบ่งเป็น CE RE SB
CE (Catalog Enhancements) มีการเพิ่ม Tag ที่ผู้ใช้ add เข้าไปและเชื่อมโยงไปถึงหนังสือที่มีเนื้อหาคล้ายๆ กัน

RE (Reviews Enhancements) เพิ่มการวิจารณ์หนังสือแต่ละเล่มเข้าไป และมีการให้คะแนน หรือให้จำนวนดาวของหนังสือเข้าไปด้วย

SB (Shelf Browse Enhancement) มีการเรียกดูรายการหนังสือแบบ Virtual Shelf น่าดึงดูดใจทีเดียว

เข้าไปศึกษาดูตัวอย่างดังกล่าวได้ที่ http://www.librarything.com/wiki/index.php/LTFL:Libraries_using_LibraryThing_for_Libraries นะคะ จะเห็นว่า Library 2.0 เข้าไปอยู่ในส่วนของ Cataloging ของห้องสมุดของคุณได้ชัดเจนทีเดียวค่ะ

Catalog, Cataloging, Library 2.0, LibraryThing, OPAC Taxonomy VS. Folksonomy
Nov 7th, 2009 by supaporn 327 views Professional Indexing VS. Personal Indexing และ Subject Cataloging VS. Social Tagging และ Taxonomy VS. Folksonomy และ Expert Metadata VS. User-Generated Metadata

กลุ่มคำทั้งสี่ชุดนี้ ถ้าถูกนำมาใช้ร่วมกันเพื่อประโยชน์ในการสืบค้นสารสนเทศของห้องสมุด น่าสนใจมากทีเดียว ปัจจุบันมีห้องสมุดหลายแห่งเริ่มนำแนวความคิดนี้มาใช้เพื่อเพิ่มศักยภาพของการสืบค้นทาง OPAC ของห้องสมุด สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่

ที่มา:http://www.stks.or.th/web

ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 8

OPAC ของท่านสนับสนุนการทำบรรณานุกรมหรือไม่
September 4th, 2009 by Courseware2u 469 views Add Comment
Trackback
Comments Feed
โดยปกติการทำอ้างอิง บรรณานุกรมมักจะใช้โปรแกรม EndNote มาช่วยบริหารจัดการ แต่สำหรับท่านที่สนใจ OSS โปรแกรม Firefox ผสานพลังด้วย Zotero เป็นตัวนำที่น่าสนใจและโดดเด่นมาก ไม่เพราะสาเหตุ “ฟรี” และใช้ได้สะดวกกว่าเท่านั้น แต่เพราะโปรแกรม Zotero สามารถดึงข้อมูลบรรณานุกรมของหนังสือ เอกสารรวมสื่อต่างๆ จาก OPAC มาเก็บเป็นรายการบรรณุกรมพร้อมนำไปอ้างอิงในเอกสารได้ทันที อีกทั้งรองรับการทำงานทั้งกับ Microsoft Word และ OpenOffice.org Writer

แต่ปัญหาของ Zotero ก็คือ จะดึงบรรณานุกรมหนังสือได้ เมื่อ OPAC นั้นรองรับเทคโนโลยี OpenURL ซึ่งตรวจสอบได้ง่ายๆ ว่า OPAC ของท่านรองรับ OpenURL หรือไม่ได้ โดยสืบค้นหนังสือ เอกสาร สื่อผ่าน OPAC ของหน่วยงานด้วย Firefox ที่ติดตั้ง Zotero (รายละเอียดการติดตั้ง) แล้วสังเกตใน Address bar หากปรากฏไอคอนเล็กด้านท้ายของ Address bar เป็นรูปหนังสือสีฟ้า หรือกระดาษสีขาว หรือแฟ้มสีเหลือง และเมื่อคลิกไปแล้ว มีรายการบรรณานุกรมหนังสือเก็บในระบบ Zotero แสดงว่า OPAC ของท่าน สนับสนุน OpenURL


จากการตรวจสอบเบื้องต้น พบว่ามีสถาบันการศึกษาหลายแห่งที่เปิดบริการ OPAC แต่ไม่รองรับ OpenURL จะเป็นแหล่งใดบ้าง ก็ลองตรวจสอบกันดูนะครับ

ที่มา:http://www.stks.or.th/blog/?p=3640

วันอาทิตย์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ข่าวประจำสัปดาห์ที่7


ระบบช่วยเหลือการสืบค้นข้อมูลออนไลน์ - ML Web OPAC?

การสืบค้นข้อมูลออนไลน์ - ML Web OPAC เป็นการให้บริการสืบค้นข้อมูลสื่อทุกประเภทที่ห้องสมุดทำรายการเพื่อให้บริการกับสมาชิก ซึ่งสามารถเรียกดูรายละเอียดสื่อ อาทิ สถานที่เก็บสื่อ, ชั้นวาง และสถานะของสื่อ

คุณสามารถหาสื่อประเภทต่างๆ ตามรายการดังต่อไปนี้:

หนังสือ
วารสาร (อาทิ บทความวารสาร, นิตยสาร, กฤตภาค)
วิทยานิพนธ์
สื่อโสต
ไมโครฟิลม์
การสืบค้นข้อมูลออนไลน์ - ML Web OPAC มีบริการข้อมูลเฉพาะสมาชิก ซึ่งสามารถตรวจสอบข้อมูลส่วนตัว อาทิ วันหมดอายุ,การเปลี่ยนรหัสผ่าน ตลอดจน สามารถตรวจสอบประวัติการยืมคืน, การยืมต่อ, การจองสื่อ, การแนะนำสื่อใหม่, การส่งข้อความ หรือรายงานสื่อใหม่เฉพาะสมาชิกอีกด้วย

เริ่มต้นการใช้งานการสืบค้นข้อมูลออนไลน์ - ML Web OPAC?

เริ่มต้นใช้งานได้อย่างง่ายๆ ด้วยระบบคำสั่ง 2ภาษา ซึ่งสามารถเลือกใช้ภาษาไทย หรือภาษาอังกฤษ ซึ่งเมนูคำสั่งการใช้งานจะอยู่ที่ด้านบนของแต่ละหน้า สามารถเลือกใช้งานการสืบค้นข้อมูลสื่อได้ 2แบบดังนี้

การค้นแบบง่าย สามารถเลือกสืบค้นแบบตำแหน่งใดก็ได้ หรือ สืบค้นจากขึ้นต้นด้วย/ตรงตัว
การค้นแบบซับซ้อน สามารถเลือกการสืบค้นแบบ Boulean Search โดยเลือกใช้ และ, หรือ, ไม่รวม
จะตรวจสอบประวัติการยืมคืนข้อมูลส่วนตัวได้อย่างไร?

เลือกปุ่มคำสั่ง 'สมาชิก' จากเมนูด้านบนของหน้าจอ ซึ่งก่อนเข้าสู่ระบบสมาชิกออนไลน์ จะต้องพิมพ์รหัส และรหัสผ่านของท่านทุกครั้ง เพื่อความปลอดภัยสำหรับข้อมูลส่วนตัวของท่านเอง

ท่านสามารถคลิกเลือกแฟ้มข้อมูลด้านซ้ายมือของท่าน เพื่อตรวจสอบ หรือ ทำรายการต่างๆได้ดังนี้

ตรวจสอบวันหมดอายุ หรือ เปลี่ยนรหัสผ่าน ที่แฟ้ม ข้อมูลสมาชิก
ตรวจสอบประวัติ การยืมคืน หรือ ยืมต่อ ที่แฟ้ม การยืมคืน
ตรวจสอบรายการค่าปรับ ที่แฟ้ม ค่าปรับ
อ่าน หรือ ส่ง ข้อความถึงหน่วยงานห้องสมุด ที่แฟ้ม ข้อความ
ตรวจสอบรายการจองสื่อ ที่แฟ้ม ข้อมูลการจองสื่อ
แนะนำหนังสือ ถึงหน่วยงานห้องสมุด ที่แฟ้ม แนะนำสื่อ
ตรวจสอบ รายงานสื่อใหม่ ประจำสัปดาห์ ที่แฟ้ม สื่อใหม่
ควรใช้ระบบสืบค้นแบบใด?

ค้นแบบง่าย - ตำแหน่งใดก็ได้

"ทุกเขตคำค้น" จะค้นจาก "ชื่อเรื่อง", "หัวเรื่อง", "ผู้แต่ง", "หมายเหตุ", หรือ "สำนักพิมพ์" หรือระบุแนวสืบค้นตามที่ต้องการ

ตัวอย่างคำค้น สำหรับ ทุกเขตคำค้น

กฎมนเทียรบาล, กฎอัยการศึก, กฎกระทรวง, กฎหมายอาญา, กฎหมายแพ่ง, กฎหมาย, กฎ เพื่อค้นหาคำค้นที่ต่อท้าย กฎ ทุกคำค้น
Computer, Computing, หรือ Comput* เพื่อค้นหาคำค้นที่ต่อท้าย Comput ทุกคำค้น
ตัวอย่างคำค้น สำหรับ ผู้แต่ง

ผู้แต่ง (คนไทย) : ปราบดา, ปราบดา หยุ่น, ส ศิวรักษ์, หรือ นามแฝง
ผู้แต่ง (ต่างชาติ) : สมิธ, หรือ สมิธ วิลเลียม, หรือ Smith, หรือ Smith William
ตัวอย่างคำค้น สำหรับ สำนักพิมพ์

นานมี (สำหรับ นานมีบุ๊คส์/นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์)
ซีเอ็ด (สำหรับ ซีเอ็ดยูเคชั่น)


ค้นแบบง่าย - ขึ้นต้นด้วย/ตรงตัว

โปรดเลือกระบุแนวสืบค้นตามที่ต้องการ "ชื่อเรื่อง", "หัวเรื่อง", "ผู้แต่ง", "เลขมาตรฐาน", "เลขเรียก", หรือ "สำนักพิมพ์"

ตัวอย่างคำค้น

การประกันคุณภาพ
An easy introduction
สมิธ หรือ สมิธ วิลเลียม
Smith หรือ Smith, William
ซีเอ็ด


ค้นแบบซับซ้อน

"ทุกเขตคำค้น" จะค้นจาก "ชื่อเรื่อง", "หัวเรื่อง", "ผู้แต่ง", "หมายเหตุ", หรือ "สำนักพิมพ์" หรือระบุแนวสืบค้นตามที่ต้องการ

ตัวอย่างคำค้น

โปรแกรม หรือ ซอฟต์แวร์ และ บัญชี
โปรแกรม หรือ คอมพิวเตอร์ และวิทยาศาสตร์
Program or Computer and Science
จำกัดการสืบค้นอะไร?

การจำกัดการสืบค้นเป็นกลไกที่เป็นประโยชน์มาก ในกรณีที่ผลลัพธ์ของการค้นข้อมูลมีปริมาณมาก สามารถเลือกใช้การจำกัดการสืบค้นเพื่อค้นหาข้อมูลสื่อได้ตรงกับที่ท่านต้องการ ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้:

ค้นข้อมูลจากฐานข้อมูล

เลือกจำกัดการสืบค้นจากฐานข้อมูล อาทิ หนังสือ, วิทยานิพนธ์, วารสาร, บทความวารสาร, สื่อโสต จากนั้นกดปุ่มค้นหา

ค้นข้อมูลจากห้องสมุด

เลือกจำกัดการสืบค้นจากห้องสมุด จากนั้นกดปุ่มค้นหา

ค้นข้อมูลจากสถานที่เก็บ

เลือกจำกัดการสืบค้นจากสถานที่เก็บ จากนั้นกดปุ่มค้นหา

ค้นหาจากปีพิมพ์

เลือกจำกัดการสืบค้นจากปีพิมพ์ โดยใส่ปีพิมพ์ที่ต้องการในช่อง ระหว่าง/ถึง จากนั้นกดปุ่มค้นหา

ที่มา: http://chonlinet.lib.buu.ac.th/help/thai/help_thai.html